หหห

หหห

กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553



อธิบายข้อสอบ ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน (Haman), สัตว์ (Animal), พืช (Plant), เชื้อรา (Fungi), แบคทีเรีย (bacteria), ไวรัส (virus) ( ไวรัส จะไม่ถูกเรียกว่าสิ่งมีชีวิตเป็นเพียงอนุภาคเท่านั้น) เป็นต้น ดีเอ็นเอ (DNA) บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ (Parent) และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน (Offspring)


ดีเอ็นเอ (DNA) มีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัวทางขวา หรือบันไดเวียนขวา ขาหรือราวของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ ( Nucleotide ) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล ( Deoxyribose Sugar ), ฟอสเฟต ( Phosphate ) (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base) เบสในนิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาหรือราวของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่ หรือ double bonds และ C จะเชื่อมกับ G ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสามหรือ triple bonds (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง
ที่มา http://www.thaibiotech.info/tag/ดีเอ็นเอคืออะไร






อธิบายข้อสอบ หน่วยไต (Nephron) แต่ละหน่วยเป็นท่อ มีปลายข้างหนึ่งเป็นกระเปาะที่ ประกอบด้วยเยื่อบาง ๆ สองชั้น คือ โบวแมนส์แคปซูล (Bowman’s Capsule) ภายในโบวแมนส์แคปซูล จะมีกลุ่มเส้นเลือดฝอย เรียกว่า โกลเมอรูลัส (Glomerulus) โบวแมนส์ แคปซูล อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์ ท่อส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นของเมดุลลา ท่อที่ติดต่อกับโบวแมนส์ แคปซูล ทำหน้าที่ดูดน้ำและสารที่ร่างกายกลับคืนการกรองจะเกิดขึ้นที่โกลเมอรูลัส โดยผนังเส้นเลือดฝอยทำหน้าที่เป็นเยื่อกรองการลำเลียงน้ำหรือสารอาหารต่าง ๆ เข้าออกจากเซลล์


การดูดกลับของสารที่ไตเกิดขึ้นโดยอาศัย 2 กระบวนการ คือ
- ACTIVE TRANSPORT เป็นการดูดกลับของสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น กลูโคส วิตามิน กรดอะมิโน ฮอร์โมน และอิออนต่างๆ


- OSMOSIS เป็นการดูดกลับของน้ำ


ที่มา http://www.konmun.com/Article/id3939.aspx


อธิบายข้อสอบ การที่ดืมแอลกอฮอล์แล้วปัสสาวะออกมามากก็เพราะ แอลกอฮอล์ไปยับยั้งการทำงานของฮอน์โมน vasopressin หรือ Antidiuretic hormone (ADH) เพราะ ADH มีหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำ ถ้าปกติแล้วเราจะขับปัสสาวะในปริมาณที่เป้นปกติในแต่ละวัน แต่ถ้าเมื่อใดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปมาก ๆ มันก็จะไปยับยั้งการทำงานของ ADH ทำให้มันสับสนและเกิดความแปรปรวน แทนที่จะดูดน้ำกลับ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมในส่วนหน้าที่นี้ได้จึงทำให้ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ จึงปล่อยน้ำออกมาบ่อยหรือในปริมาณมากนั่นเอง


ที่มาhttp://www.vcharkarn.com/vcafe/35620

อธิบายข้อสอบ สารละลายบัฟเฟอร์ 
สารละลายบัฟเฟอร์  หมายถึง  สารละลายที่ได้จากการผสมของกรดอ่อนกับคู่เบส ของกรดนั้น  หรือเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้น   จะได้สารละลายที่มีไอออนร่วม   
หน้าที่สำคัญของสารละลายบัฟเฟอร์  คือเป็นสารละลายที่ใช้ควบคุม  ความเป็นกรดและเบสของสารละลาย  เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก  เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  นั่นคือสามารถ  รักษาระดับ pH ของสารละลายไว้ได้เกือบคงที่เสมอ  แม้ว่าจะเติมน้ำหรือเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  ก็ไม่ทำให้ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปมากนัก  เราเรียกความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้ว่า  buffer capacity 
                สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท 
1)  สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน  (Acid buffer solution)        สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้มี pH < 7  เป็นกรด  เช่น 
                                                กรดอ่อน  +  เกลือของกรดอ่อนนั้น
                                              CH3COOH  +  CH3COONa 
                                              HCN  +  KCN 
                                              H2S  +  Na2S  
                                              H2CO3  +  NaHCO3 
 2)  สารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน  (Basic buffer solution)  
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH  >  7  เป็นเบส  เช่น 
                                                เบสอ่อน  +  เกลือของเบสอ่อนนั้น 
                                                NH3  +  NH4Cl 
                              NH3  +  NH4NO3 
                              Fe(OH)2  +  FeCl2 
                              Fe(OH)3  +  FeCl3 


ที่มาhttp://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem22/buffer.htm


การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( control of virus diseases )
 กระทำโดยการป้องกันไม่ให้พืชเป็นโรค อาจทำโดยการใช้
สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อลดจำนวนแมลงพาหะเมื่อทำการปลูกพืช 
อาจใช้ความร้อนเข้าช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัสออกไปจากตอพันธุ์ 
หรือตัดเอา apical me
ristem จากยอดอ่อนพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ไปทำการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ( tissue culture )
 ซึ่งจะทำให้ได้ต้นพืชที่ปลอดเชื้อไวรัส 


ที่มา http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2404


การป้องกันรักษาโรคที่เกิดจากไวรัส - ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค
ที่เกิดจากไวรัสอย่างได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะยาที่ใช้ทำลายไวรัสมีผล
ทำอันตรายต่อเซลล์ด้วย
- สารต่อต้านไวรัส ที่เป็นความหวังว่าจะใช้ได้ผล คือ อินเตอร์ฟีรอน

 ( interferon ) ซึ่งเป็นโปรตีนต่อต้านไวรัส ที่เซลล์สร้างขึ้นเมื่อติด
เชื้อไวรัส เเละสามารถนำไปใช้ป้องกันเซลล์อื่นในการติดเชื้อไวรัส
เดียวกันได้
- การป้องกันโรคที่เกิดจากไวรัสมีเพียงวิธีเดียวที่ใช้ได้ผลคือ 

การใช้วัคซีน ตัวอย่างการนำวัคซีนมาใช้ในการป้องกัน 
โรคในคนเเละสัตว์อย่างได้ผล ได้เเก่ วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ 
โรคโลหิต โปลิโอ ไข้หวัดใหญ่ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ฯลฯ 
การให้วัคซีน ( เชื้อโรคที่ตายเเล้วซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตราย ) 
ทำให้ร่างกายได้รับการกระตุ้น
ให้สร้างภูมิคุ้มกัน หรือ เเอนติบอดีต่อโรคนั้น 



  ที่มา http://dit.dru.ac.th/biology/virus.html

การบ้าน 50 คะแนน
ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสิบค้นข้อมูล

ข้อ 6 - 10 ลงใน Blog ของตนเอง
 ส่งในสัปดาห์ต่อไป 





      แอนติบอดี (อังกฤษantibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษimmunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่นแบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)
การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป
โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเปปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วนที่โคนของตัววายของโมเลกุลแอนติบอดี เรียกว่า constant region จ ะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า variable region

     ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5





     ถ้าหยดน้ำเกลือลงบนสไลด์ที่มีใบสาหร่ายหางกระรอกอยู่ จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อหยดน้ำเชื่อมมากที่สุด และจะเกิดเร็วที่สุด
    สิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้จะต้องประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น การศึกษาส่วนประกอบของเซลล์จึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ช่วยขยายขนาดของเซลล์ ทำให้ศึกษารูปร่างและลักษณะของเซลล์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
                   การศึกษาลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตพบว่า สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เพียงเซลล์เดียวเราเรียกว่า สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ประกอบขึ้นจากเซลล์หลายเซลล์มารวมกลุ่มกันเป็นรูปร่าง เราเรียกว่า สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
                   เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะประกอบด้วยส่วนห่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส และไซโทรพลาซึม ในเซลล์พืชจะพบ คลอโรพลาสต์อยู่ภายในไซโทรพลาซึม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้พืชสามารถสร้างอาหารเองได้ ส่วนเซลล์สัตว์จะมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เหมือนกับเซลล์พืช แต่ในเซลล์สัตว์จะไม่พบผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์เหมือนในเซลล์พืช ทำให้สัตว์ไม่สามารถสร้างอาหารได้เองเช่นเดียวกับพืช
ที่มา http://school.obec.go.th/csw_sbvrp/page5.htm


           ดีเอ็นเอ (อังกฤษDNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คนสัตว์พืช,เชื้อราแบคทีเรียไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
           ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์(Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล,ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส(หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) ,ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง
           ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ในประเทศไทย มีนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ ดีเอ็นเอเขียนโดยวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์






"ดีเอ็นเอ" ดูจะเป็นกุญแจไขคำตอบของปริศนาต่าง ๆ ตามภาพข่าวที่ปรากฎให้เห็นอยู่หน้าหนังสือพิมพ์บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นข่าวอาชญากรรม ข่าวสังคม ลูกตามหาพ่อแม่ ฯลฯ อีกมากมาย ที่ล้วนแต่ทำให้เราคุ้นหูกับคำว่า "ดีเอ็นเอ" กันมากขึ้น แต่ไม่เพียงแค่นี้ เพราะ "ดีเอ็นเอ" ยังมีความมหัศจรรย์และลึกลับอีกมากมาย พร้อมจะไปรู้จักกับ "ดีเอ็นเอ" ให้มากขึ้นหรือยังล่ะ
ทำความรู้จัก DNA
          ได้ยินชื่อ "DNA" กันบ่อย ๆ ทราบไหมว่าย่อมาจากอะไร?
          คำตอบก็คือ DNA ย่อมาจาก Deoxyribo Nucleic Acid (ดีออกซิไรโบ นิวคลีอิค เอซิด) เป็นสารพันธุกรรมในนิวเคลียส ที่เรียงตัวในลักษณะเกลียวคู่อย่างมีระเบียบ คล้ายบันไดวนบิดตัวไปทางขวา ขาของราวบันไดแต่ละข้างคือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดย
          DNA จะทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์อย่างเรา ๆ ด้วย ผ่านการบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรม และถ่ายทอดข้อมูลไปยังลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป (Offspring) และสำหรับมนุษย์แล้ว DNA เปรียบเหมือนประวัติส่วนบุคคลที่ถูกกำหนดขึ้นมาตายตัว นับตั้งแต่วินาทีแรกที่เราปฎิสนธิขึ้นในครรภ์มารดา เพราะ DNA ในแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน เนื่องจากจะได้รับลักษณะทางพันธุกรรมมาจากพ่อแม่อย่างละครึ่ง แล้วมารวมกันเป็น DNA เฉพาะตัวของลูกนั่นเอง แต่ก็ยังมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนพ่อแม่ปรากฎให้เห็นอยู่
          เช่นนั้นแล้ว แม้จะเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน แต่รับรองว่า DNA ของพี่น้องไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน ส่งผลให้มีรูปลักษณ์ หน้าตา สติปัญญา แตกต่างกันไป ยกเว้นแต่เป็นฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน
การค้นพบ DNA
          เราอาจจะเพิ่งมาได้ยินเรื่อง DNA กันบ่อย ๆ ในช่วงไม่กี่สิบปีหลังมานี้ แต่ก่อนหน้านั้น ผู้ที่้ค้นพบ DNA คนแรกคือ ฟรีดริช มีเชอร์ เมื่อปี พ.ศ.2412 แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนเมื่อปี พ.ศ.2496 เจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก 2 นักวิทยาศาสตร์หนุ่มได้ลงบทความประกาศในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ว่า พวกเขาได้ค้นพบโครงสร้าง DNA ว่าเป็นสายคู่ที่บิดพับเป็นเกลียวคล้ายบันไดวน แบบที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix) พร้อมข้อสันนิษฐานที่ว่า DNA น่าจะเป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
          การค้นพบของวัตสัน และคริก ครั้งนี้ ทำให้พวกเขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ หรือสรีรวิทยา ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง ที่มีผลงานเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด คือ มัวริส วิลคินส์ ในปีพ.ศ.2505 นั่นเอง และนี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มีการค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของ DNA ว่ามหัศจรรย์เพียงใดตามมาภายหลัง
การใช้ประโยชน์จาก DNA ในแวดวงต่าง ๆ
          เพราะ DNA เป็นประวัติส่วนตัวของแต่ละบุคคล ทำให้เราสามารถนำลายพิมพ์ DNA (DNA Fingerprints) มาใช้ในงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความเหมือนหรือความต่างได้ คือ
           ด้านการแพทย์
           ใช้ DNA ตรวจสอบความสัมพันธ์ทางสายเลือด โดยการนำเนื้อเยื่อหรือเลือดจากบุคคลมาสร้างเป็นลายพิมพ์ DNA แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน อย่างที่ทราบกันว่า DNA ของลูกจะได้มาจากพ่อแม่อย่างละครึ่ง ดังนั้นลายพิมพ์ DNA ของลูกจะต้องประกอบด้วยแถบ DNA ที่มาจากพ่อแม่เท่านั้น
           ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ของผู้ใหญ่ เด็ก และทารกในครรภ์ โดยเฉพาะโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่น เบาหวาน มะเร็งบางชนิด โลหิตจากธาลัสซีเมีย
           ใช้ในการติดตามการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก เช่น การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะต้องมีการปลูกถ่ายไขกระดูกจากญาติใกล้ชิด โดยนำไขกระดูกของผู้ให้เข้าไปแทนที่ไขกระดูกของผู้ป่วย ทำให้ลายพิมพ์ DNA จากเลือดของผู้ป่วยจะเปลี่ยนไป ตรงกับลายพิมพ์ DNA ของผู้ให้แทน ในขณะที่ลายพิมพ์ DNA จากเซลล์ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายยังเหมือนเดิม
           ด้านนิติวิทยาศาสตร์
          ถือว่า DNA มีประโยชน์อย่างมากในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพราะธรรมชาติของ DNA ที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล จึงทำให้สามารถใช้ DNA มาระบุตัวบุคคล ตรวจสอบผู้กระทำ ผู้ต้องสงสัย ผู้เสียชีวิตที่ไม่ทราบชื่อ โดยนำเซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายมาใช้พิสูจน์ก็ได้ เพราะจะมี DNA รูปแบบเดียวกันทั้งร่างกาย เช่น คราบอสุจิ เส้นผม คราบเลือด ชิ้นเนื้อ ฟัน เป็นต้น
           ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
          นอกจากการตรวจพิสูจน์ DNA ในมนุษย์แล้ว ปัจจุบันยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีลายพิมพ์ DNA เพื่อประยุกต์ใช้ในวงการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม เช่น ทีมนักวิจัยชาวไทยแห่งศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC) ที่ได้พัฒนาลายพิมพ์ DNA มาตรวจสอบพันธุ์พืช และสัตว์เศรษฐกิจ
          อย่างเช่น การพัฒนาลายพิมพ์ DNA ที่แตกต่างกันของข้าวแต่ละสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถระบุได้ว่า มีข้าวประเภทอื่นปนมาในข้าวหอมมะลิหรือไม่ และปลอมปนมากกี่เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ก็เพื่อควบคุมมาตรฐานของข้าวหอมมะลิ ที่เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย
          นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาลายพิมพ์ DNA ของปลาทูน่า เพื่อตรวจสอบปลาทูน่าสายพันธุ์ต่าง ๆ ก่อนนำมาผลิตเป็นปลาทูน่ากระป๋อง เพื่อส่งออกไปยังทวีปยุโรป ซึ่งได้ผลแม่นยำมาก
เกร็ดน่ารู้ ความมหัศจรรย์ ของ DNA
           DNA แม้จะอยู่ในเซลล์เพียงเซลล์เดียวแต่ก็มีความยาวมากถึง 3 พันล้านหน่วย โดยหากนำ DNA ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ 1 คนมาต่อกันแล้วนำมาพันรอบโลก จะสามารถพันรอบโลกได้ถึง 12 รอบครึ่งเลยทีเดียว
           นอกจากนี้ หากนำ DNA มาต่อกันแล้ว ยังมีความยาวมากกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (คือประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร) กว่า 100 เท่า
           สิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดบนโลกใบนี้ มี DNA เป็นสารพันธุกรรม ทั้ง คน สัตว์ พืช เชื้อรา เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยกเว้นไวรัสบางชนิด จะมี RNA เป็นสารพันธุกรรมแทน ซึ่งโครงสร้าง RNA ก็คล้าย DNA แต่มีจำนวนอะตอมออกซิเจนมากกว่า DNA และจะอยู่เป็นสายเดี่ยว ไม่ได้จับเป็นสายคู่แบบ DNA
           เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนมี DNA เป็นสารพันธุกรรม ดังนั้น เราจึงสามารถทดลองสร้าง "วัคซีน" รวมทั้ง "ยารักษาโรค" ชนิดใหม่ ๆ ได้ด้วยการนำยีนที่สร้างโปรตีนบางอย่างของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค ไปทดสอบกับพืชบางชนิด หรือสัตว์บางชนิดที่มีโครงสร้างซับซ้อนน้อยกว่ามนุษย์ รวมทั้งการสร้าง "อวัยวะจำลอง" ซึ่งเราจะไม่สามารถทำได้เลย หากระบบการถ่ายทอดพันธุกรรมในมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
           DNA มีระบบการตรวจสอบความผิดปกติ และระบบซ่อมแซมตัวเองที่มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยหากมีความผิดปกติเพียง 1 หน่วยพันธุกรรมจากในสายพันธุกรรมที่ยาวถึง 3 พันล้านหน่วย มันก็จะสามารถตรวจพบได้ และเริ่มซ่อมแซมตัวเองด้วยการคลายเกลียวดีเอ็นเอ และตัดหน่วยพันธุกรรมที่ผิดปกตินั้นออก จากนั้นจึงนำหน่วยพันธุกรรมที่ถูกต้องมาใส่แทนที่ ขั้นตอนสุดท้าย ก็จะเป็นการเชื่อมต่อสายดีเอ็นเอ และพันสายกลับเข้าที่เข้าทางดังเดิม
          นี่เป็นเพียงความมหัศจรรย์ส่วนหนึ่งของ DNA เท่านั้น แต่หากใครได้ศึกษาทางด้านชีววิทยา หรือเทคโนโลยีทางชีวภาพแบบเจาะลึกลงไปอีก จะพบความมหัศจรรย์ของเจ้าสารพันธุกรรมตัวนี้ ว่ามันไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ


ที่มา http://article.konmun.com/DNA-DNA-know520.htm



กลุ่มเลือดของบิดา กลุ่มเลือดของมารดา กลุ่มเลือดของบุตร
O O O
O A O,A
O B O,B
A A O, A
A B O, A, B, AB
B B O, B
O AB A, B
A AB A, B, AB
B AB A, B, AB
AB AB A, B, AB


คนหมู่เลือด A +A      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B       = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O

พ่อ แม่กรุ๊ปเลือดใด จะมีลูก ที่มีเลือดกรุ๊ปใดได้บ้า
ให้นึกภาพว่ายีนส์ ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลสืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม

ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
    
Group A    = มียีนส์ AO หรือ AA
   Group B    = มียีนส์ BO หรือ BB
   Group AB  = มียีนส์AB
   Group O    = มียีนส์ OO


ทีนี้มาดู ว่า พ่อ กับแม่ แม่กรุ๊ปใด ให้ลูก กรุ๊ปใด ได้บ้าง 

กรณีที่ 1 ทั้งสองฝ่าย group A เหมือนกัน จะเป็นได้ดังนี้
ถ้าพ่อแม่เป็น AA+ AA ลูกจะเป็น AA ร้อยเปอร์เซนต์ (Group A ทั้งหมด)
ถ้าพ่อแม่เป็น A0 +AA ลูกจะเป็น AO กับ AA อย่างล่ะครึ่ง( แต่ก็เป็น Gr A ทั้งหมด)
ถ้าพ่อแม่เป็น A0 + AO ลูกจะเป็น AO 50% กับ AA กับ OO อย่างล่ะ 25% (เป็น Gr A 75% กับ O 25%)

ในทางปฏิบัติ คนกรุ๊ป A เราไม่ทราบหรอกครับ ว่ามันเป็น AA หรือ AO แต่จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ลูกก็จะมีโอกาสเป็นได้แค่ Gr A หรือ O เท่านั้น
กรณีที่ 2 ทั้งสองฝ่ายกรุ๊ป B เหมือนกัน
ก็ จะเหมือนกับ กรณีของ A ข้างบน แต่เปลี่ยนเป็น จาก A เป็น B เท่านั้น

กรณีนี้ จะได้ลูกแค่ Gr B และ O เท่านั้น
กรณีที่ 3 ทั้งสองฝ่ายเป็น AB เหมือนกัน จะเป็นดังนี้
AB+AB จะได้ ลูก AB 50% กับ AA และ BB อย่างล่ะ 25%

กรณีนี้จะได้ลูก Gr AB 50% และ A กับ B อย่างล่ะ 25% ไม่มีกรุ๊ป O เลย
กรณีที่ 4 ทั้งสองฝ่ายกรุ๊ป O เหมือนกัน จะได้ ดังนี้
OO+OO จะได้ลูก เป็น OO 100%

กรณีนี้จะได้แต่ลูกกรุ๊ป O เท่านั้น ไม่มีกรุ๊ปอื่นปน
กรณีที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง Group A อีกฝ่ายกรุ๊ป B จะเป็นได้ดังนี้
AA + BB = ลูกได้ AB ร้อยเปอร์เซ็นต์(Gr AB ทั้งหมด)
AO + BB = ลูกได้ AB ครึ่งนึง กับ BO ครึ่งนึง (Gr AB กับ Gr B อย่างล่ะครึ่ง)
AA + BO = ลูกได้ AB กับ AO อย่างล่ะครึ่ง (Gr AB กับ Gr A อย่างล่ะครึ่ง)
AO+BO = ลูกได้ AB ,AO, BO, OO อย่างล่ะ 25% ( มีได้ทุกกรุ๊ป อย่างล่ะ 25% )

กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าพ่อแม่ คนนึง Gr A อีกคน B จะมีลูกได้ ทุกกรุ๊ปเลย
กรณี 6 ฝ่ายหนึ่งกรุ๊ป A อีกฝ่าย AB จะเป็นได้ดังนี้
AA + AB จะได้ลูก AA และ AB อย่างล่ะครึ่ง(ได้ลูกกรุ๊ป A และ AB อย่างล่ะครึ่ง)
AO +AB จะได้ลูก AA ,AO, AB, BO อย่างละ 25% (ได้ลูกกรุ๊ป A 50% และ กรุ๊ปAB กับ กรุ๊ป B อย่างล่ะ 25%)

กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น A อีกฝ่ายเป็น AB จะได้ลูก กรุ๊ป A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น Gr O
กรณีที่ 7 ฝ่ายหนึ่ง AB อีกฝ่าย B จะเป็นได้ดังนี้
AB + BB จะได้ลูก BB และ AB อย่างล่ะครึ่ง(ได้ลูกกรุ๊ป A และ AB อย่างล่ะครึ่ง)
AB +BO จะได้ลูก BB ,BO, AB, AO อย่างละ 25% (ได้ลูกกรุ๊ป B 50% และ กรุ๊ปAB กับ กรุ๊ป A อย่างล่ะ 25%)

กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น AB อีกฝ่ายเป็น B จะได้ลูก กรุ๊ป A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น Gr O เหมือนกัน กับกรณีที่ 4
กรณีที่ 8 ฝ่ายหนึ่ง Gr AB อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
AB + OO จะได้ AO กับ BO

กรณีนี้จะได้ลูก กรุ๊ป A กับ B ไม่มี AB และ O
กรณีที่ 9 ฝ่ายหนึ่ง Gr A อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
AA + OO ได้ AO ทั้งหมด (กรุ๊ป A ทุกคน)
AO + OO ได้ AO กับ OO อย่างละ50% (

กรณีนี้จะได้ลูก Gr A กับ O อย่างล่ะครึ่ง ไม่มี กรุ๊ป B กับ AB
กรณีที่ 10 ฝ่ายหนึ่ง Gr B อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
BB + OO ได้ BO ทั้งหมด (กรุ๊ป B ทุกคน)
BO + OO ได้ BO กับ OO อย่างละ50%

กรณีนี้จะได้ลูก Gr B กับ O อย่างล่ะครึ่ง ไม่มี กรุ๊ป A กับ AB

สรุปจากสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ
คนหมู่เลือด A +A      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B       = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O




article&Id=471368&Ntype=6



โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย(Thalassemia)คืออะไร

   คือ โรคซีดชนิดหนึ่งที่เป็นกันในครอบครัวหรือที่เรียกว่า โรคกรรมพันธุ์มีการสร้างสาร ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง ลดน้อยลง เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ผู้ที่เป็นโรคนี้ ได้รับยีนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่
   ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ มนุษย์ เช่น ในมนุษย์กำหนดสี และลักษณะของ ผิว ตา และผมความสูง ความฉลาด หมู่เลือด ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมทั้งโรคบางอย่าง เป็นต้น ยีนที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ สำหรับผู้มียีนธาลัสซีเมีย(Thalassemia) มีได้สองแบบคือ

  1. เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มียีน หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) พวกหนึ่งเพียงข้างเดียวเรียกว่า มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ จะมีสุขภาพดีปกติ ต้องตรวจเลือดโดย วิธีพิเศษ จึงจะบอกได้ เรียกว่า เป็นพาหะ เพราะสามารถ่ายทอดยีนผิดปกติไปให้ลูกก็ได้ พาหะอาจให้ยีนข้างที่ปกติ หรือข้างที่ผิดปกติให้ลูกก็ได้
  2. เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนผิดปกติ หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซี เมียพวกเดียวกันมาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยมียีนผิดปกติทั้งสองข้าง และถ่ายทอดความผิดปกติข้างใดข้างหนึ่งต่อไป ให้ลูกแต่ละคนด้วย

ภาวะธาลัสซีเมียพบมากเพียงใด และถ่ายทอดได้อย่างไร

   ภาวะธาลัสซีเมียพบมากในประเทศไทย และพบได้ทั่วโลก ภาวะธาลัสซีเมียที่พบในบางประเทศเกือบทั้งหมด เป็นแบบเดียวกัน แต่ในประเทศไทยมีความหลากหลายมาก จากการสำรวจ ภาวะธาลัสซีเมียในประเทศไทยสามารถแบ่งเป็นพวกใหญ่ๆ ที่สำคัญ 2 พวกคือ
พวกที่ 1 - แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย พบมากได้แก่
  • พาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 พบประมาณร้อยละ 5
  • พาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 พบประมาณร้อยละ 16
  • พาหะของฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง พบประมาณร้อยละ 4
พวกที่ 2 - เบต้า-ธาลัสซีเมีย
  • พาหะของเบต้า-ธาลัสซีเมีย พบประมาณร้อยละ 5
  • พาหะของฮีโมโกลบินอี พบประมาณร้อยละ 13
   ข้อมูลข้างบนนี้เป็นภาพรวมอัตราเฉลี่ยของประเทศ การสำรวจในแต่ละภาค จะได้ค่าแตกต่างกันออกไปบ้าง ในภาคเหนือ พบแอลฟ่า-ธาลัสซีเมียมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบฮีโมโกลบินอีมาก เช่น ในจังหวัดสุรินทร์ สกลนคร พบถึงร้อยละ 50-60 ของประชากรทีเดียว กล่าวได้ว่า โดยเฉลี่ยชาวไทยเป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดใดชนิดหนึ่ง ถึงร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 20 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกัน และเป็นชนิดที่เป็นพวกเดียวกัน อาจมีลูกเป็นโรคได้ พบว่าในประเทศไทยมีคนเป็นโรคธาลัสซีเมียมาก ถึงร้อยละ 1 หรือประมาณ 6 แสนคน
   ที่กล่าวว่า ผู้เป็นโรคต้องได้รับยีนผิดปกติจากทั้งบิดา และมารดาและต้องเป็นชนิดที่เป็นพวกเดียวกัน หมายถึง แอลฟ่าธาลัสซีเมียด้วยกัน หรือ เบต้าธาลัสซีเมียด้วยกัน เนื่องจาก ยีนธาลัสซีเมียมีหลายชนิด การได้รับยีนผิดปกติมาจับคู่กัน จึงมีหลายชนิดด้วย มีชื่อเรียกต่างๆ กันและนอกจากนี้ความรุนแรง ยังแตกต่างกันมาก ตั้งแต่รุนแรงมากที่สุดถึงไม่มีอาการเลย ดังนี้คือ
พวกแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย
  • แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 เรียกว่า ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ ฟิทัลสลิส รุนแรงที่สุด
  • แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ช รุนแรงน้อย
  • แอลฟ่า -ธาลัสซีเมีย 1 กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ชคอนสแตนท์สปริง รุนแรงน้อย
  • ฮีโมโกลบินคอนสแตน์สปริง กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์ สปริง เรียกว่า โฮโมซัยกัสคอนสแตนท์สปริง อาการน้อยมาก
  • แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า โฮโมซัยกัส ไม่มีอาการ
พวกเบต้า-ธาลัสซีเมีย
  • เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ เต้า-ธาลัสซีเมีย เรียกว่า โฮโมซัยกัส
  • เบต้าธาลัสซีเมีย หรือ เบต้า-ธาลัสซีเมียเมเจอร์ รุนแรงมาก
  • เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ ฮีโมโกลบินอี เรียกว่า เบต้า-ธาลัสซี เมีย/ฮีโมโกลบินอี รุนแรงปานกลาง
  • ฮีโมโกลบินอี กับฮีโมโกลบินอี เรียกว่า โฮโมซัสกัส ฮีโมโกลบินอี อาการน้อยมาก
   ในกรณีที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะของภาวะแอลฟ่าธาลัสซี เมีย แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะของเบต้า-ธาลัสซีเมีย มีโอกาสที่บุตรจะรับความผิดปกติจากทั้งบิดาและมารดา คือ มีทั้ง แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย และเบต้า-ธาลัสซีเมีย ได้ แต่เนื่องจากเป็นความผิดปกติ ที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน จึงทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย แต่บุตรคนนี้ จะถ่ายทอดภาวะแอลฟ่า-ธาลัสซีเมียและ/หรือเบต้า-ธาลัสซีเมีย ไปยังลูก ๆ ของตนต่อไปได้
  • ถ้าพ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียว โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือครึ่งต่อครึ่ง แต่จะไม่มีลูกคนใดเป็นโรค
  • ถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน โอกาสที่ลูก จะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 และปกติเท่ากับ 1 ใน 4
  • ถ้าพ่อและแม่ เป็นพาหะที่ไม่เหมือนกัน แต่อยู่ในพวกเดียวกัน โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 เป็นพาหะแบบพ่อเท่ากับ 1 ใน 4 เป็นพาหะแบบแม่เท่ากับ 1 ใน 4 และเป็นปกติเท่ากับ 1 ใน 4
  • ถ้าพ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค ชนิดที่เกิดจากยีนที่ไม่เหมือนกัน แต่เป็นพวกเดียวกัน เช่น เบต้า-ธาลัสซีเมียด้วยกัน หรือแอลฟ่าธาลัสซีเมียด้วยกัน และอีกฝ่ายไม่มียีนผิดปกติ ลูกทุกคน จะมีภาวะแฝงเท่านั้นไม่เป็นโรค
  • ถ้าพ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย พวกเดียวกัน ลูกครึ่งหนึ่งจะเป็นพาหะ อีกครึ่งหนึ่งเป็นโรค
   โอกาสหรืออาจจะเรียกว่า อัตราเสี่ยงที่เกิดในลูก ที่จะเป็นโรค เป็นพาหะหรือเป็นปกติ ในแต่ละครอบครัว จะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์ บางครอบครัวที่พ่อและแม่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ทั้งคู่ มีลูก 7 คน เป็นโรคเพียงคนเดียว แต่บางครอบครัวมีลูก 3 คน เป็นโรคทั้ง 3 คน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ว่าลูกที่เกิดมาในแต่ละครรภ์ จะรับยีนธาลัสซีเมีย ไปจากพ่อและแม่ หรือไม่ ทั้งๆ ที่อัตราเสี่ยงของทั้งสองครอบครัวนี้เท่ากัน และทุกครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4

อาการของผู้เป็นโรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย มีความรุนแรงต่างกันได้มา จะขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ฟิทัลลิส (Hb Bart's hydrops fetalis)
       เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด จะตายทั้งหมด อาจตามตั้งแต่ในครรภ์ ตายขณะคลอด หรือหลังคลอดเล็กน้อย ทารกมีลักษณะบวมและซีด รกมีขนาดใหญ่ ท้องป่องตับโตมาก ส่วนแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกที่เป็นโรคนี้ จะมีปัญหาแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์คือ ครรภ์เป็นพิษ มีความดันเลือดสูง บวม มักมีการคลอดที่ผิดปกติ และมีการตกเลือดหลังคลอดด้วย
  2. เบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี (b-thalassemia/Hb E) และโฮโมซัยกัส เบต้า-ธาลัสซีเมีย (Homozygous b-thalassemia)
       ผู้ป่วยกลุ่มนี้แรกเกิดปกติ จะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ภายในขวบ ปีแรก หรือหลังจากนั้น โดยผู้เป็นโรคชนิดหลัง มักมีอาการรุนแรงกว่าชนิดแรก อาการสำคัญคือ ซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง ม้ามและตับโต กระดูกใบหน้าเปลี่ยน จมูกแบน โหนกแก้มสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบางเปราะหักง่าย ร่างกายแคระแกร็น เจริญเติบโตไม่สมอายุ ในรายที่ซีดมากจำเป็นต้องได้รับเลือด แต่เนื่องจากในเลือดมีธาตุเหล็กมาก ฉะนั้นหากผู้ป่วยได้รับเลือดบ่อย ๆ จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือ มีธาตุเหล็กเกิน ไปสะสมในอวัยวะต่างๆ มีผลทำให้ผิวคล้ำ เป็นตับแข็ง เบาหวาน หัวใจล้มเหลว เป็นต้น นอกจากนี้ผลจากการสลายของเม็ดเลือดแดง ยังอาจพบนิ่วในถุงน้ำดีด้วย
  3. โรคฮีโมโกลบินเอ็ช (Hb H disease)
       ส่วนใหญ่มีอาการน้อย ยกเว้นบางรายอาการรุนแรงคล้ายเบ ต้า-ธาลัสซีเมียได้ ผู้ป่วยซีดเล็กน้อย บางครั้งมีเหลืองเล็กน้อยร่วมด้วย ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคตับหรือโรคดีซ่าน หากมีไข้ติดเชื้อ ผู้ป่วยพวกนี้จะซีดลงได้มากและเร็ว จนทำให้หัวใจวายได้

โรคธาลัสซีเมีย รักษาได้อย่างไร

   เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย มีหลายชนิด และก่อให้เกิดอาการแตกต่างกันได้มาก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการน้อยมาก จนไม่ต้องให้การรักษาอย่างใดเป็นพิเศษ แต่บางรายซีดมาก ต้องได้รับการรักษาและติดต่อกับแพทย์เป็นประจำโดยสม่ำเสมอ ฉะนั้นก่อนอื่นผู้ปกครอง ผู้ป่วย และครอบครัว จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า โรคธาลัสซีเมีย คืออะไร มีแบบแผนการทางการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไร ผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดใด ผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดทางสายเลือด เช่น บิดา มารดา บุตร พี่น้อง และรวมทั้งคู่สมรส ควรได้รับการตรวจเลือด เพื่อให้ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วย
การรักษาได้แก่
1. การดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป ควรมีสุขอนามัยที่ดี สะอาด 
การปฏิบัติตัว - ออกกำลังกายเท่าที่จะทำได้ ไม่เหนื่อยเกินไป เนื่องจากมีกระดูกเปราะหักง่าย ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ผาดโผน ไม่สูบบุหรี่เพราะมีอาการซีดอยู่แล้ว ร่างกายจะขาดออกซิเจนมากขึ้น ไม่ควรดื่มเหล้าเพราะผลเสียต่อตับ ซึ่งมีธาตุเหล็กไปสะสม มีปัญหาอยู่แล้ว
อาหาร - คนที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย เม็ดเลือดแดงแตกเร็ว ร่างกายพยายามสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมาแทน สร้างมากและสร้างเร็ว กว่าคนปกติหลายเท่า ฉะนั้นควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม และอาหารที่มีวิตามินที่เรียกว่า "โฟเลท" อยู่มาก ได้แก่ ผักสดต่างๆ สารอาหารเหล่านี้ จะถูกนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้ อาหารที่ควรละเว้นคือ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เลือดสัตว์ต่างๆ เช่น เลือดหมู เลือดเป็ด เลือดไก่ สำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำชา น้ำเต้าหู้ จะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้บ้าง
ยา - ไม่ควรซื้อยาบำรุงโลหิตกินเอง เพราะอาจเป็นยาที่มีธาตุเหล็กซึ่งใช้สำหรับรักษาคนที่ขาดธาตุเหล็ก ไม่ใช่สำหรับโรคธาลัสซีเมียที่มีเหล็กเกินอยู่แล้ว ควรรับประทานยา วิตามินโฟเลท (Folate) อาจช่วยเสริมให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ดีขึ้นบ้าง
2. การให้เลือด มี 2 แบบคือ 
2.1 การให้เลือดแบบประคับประคอง (low transfusion) เพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ้นให้สูงกว่า 6-7 กรัม/เดซิลิตร หรือระดับฮีมาโตคริต สูงกว่า 20% พอให้ผู้ป่วยหายจากอาการอ่อนเพลีย เหนื่อย มึนงง จากอาการขาดออกซิเจน เป็นการให้เป็นครั้งคราว ตามความจำเป็น
2.2 การให้เลือดจนหายซีด (high transfusion) เพิ่มระดับฮีโมโกลบินให้สูงใกล้เคียงคนปกติ อาจต้องให้เลือดทุกสัปดาห์ 2-3 ครั้ง จนระดับฮีโมโกลบินก่อนให้เลือดอยู่ในเกณฑ์ 10 กรัม/เดซิลิตร เสียก่อน (ฮีมาโตคริต 30% ต่อจากนั้นให้เลือดอย่างสม่ำเสมอทุก 2.5-3 สัปดาห์ตลอดไป โดยจะทำให้ค่าเฉลี่ยของฮีโมโกลบินของผู้ป่วยสูงขึ้น ได้ประมาณ 12 กรัม/เดซิลิตร (ฮีมาโตคริต 36%) วิธีนี้ส่วนมากจะให้แก่ผู้ป่วย ที่เป็นโรคชนิดที่รุนแรง และมักจะให้ผู้ป่วยอายุน้อย ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะกระดูกหน้า และม้ามยังไม่โต ผู้ป่วยจะแข็งแรงเหมือนเด็กปกติไม่เหนื่อย และจะป้องกันมิให้ใบหน้าเปลี่ยน ม้ามจะไม่โต และการเจริญเติบโตจะปกติ ข้อเสีย ของการให้เลือดวิธีนี้คือ ต้องมารับเลือดอย่างสม่ำเสมอ และจะมีปัญหาแทรกซ้อน ของการให้เลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีภาวะเหล็กเกินตามมา
ปัญหาแทรกซ้อนของการให้เลือดมีหลายประการได้แก่ 
ก. การติดเชื้อจากการให้เลือด ได้แก่ ตับอักเสบ เอดส์ (AIDS) มาลาเรีย เป็นต้น แม้ว่าธนาคารเลือดจะได้ซักประวัติ และตรวจเลือด คัดเอาผู้ที่สงสัย หรือมีโรคดังกล่าวออกไปได้เกือบทั้งหมดแล้วก็ตาม
ข. การแพ้เลือด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีผื่นคัน ภายหลังการได้รับเลือด เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ลิมโฟไซท์ ซึ่งแพทย์มักให้ยาแก้แพ้รับประทานป้องกันอาการไว้ก่อน ที่จะให้เลือด และปัจจุบันสามารถป้องกันปฏิกิริยานี้ ได้โดยใช้ชุดกรองเลือด เป็นพิเศษ กรองเม็ดเลือดขาวออกจากถุงเลือดที่ให้ผู้ป่วย แต่เครื่องนี้ ราคาแพงประมาณชุดละ 600-900 บาท และใช้ได้เพียงครั้งเดียว ในผู้ป่วยให้เลือดทั่วไป ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ควรใช้และจะมีประโยชน์มาก ในรายที่เตรียมผู้ป่วยสำหรับการปลูกถ่ายไขกระดูก เพราะจะช่วยป้องกัน การเกิดปฏิกิริยาต่อต้านเม็ดเลือดของผู้ให้ไขกระดูกได้
ค. ภาวะความดันโลหิตสูง หลังจากให้เลือด พบได้ประปราย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว อาเจียน หากรุนแรงมากอาจมีเลือดออกในสมอง ผู้ป่วยซึมลงหรือชักเป็นอันตรายมากได้ ฉะนั้นแพทย์จึงต้อง วัดความดันโลหิตให้ผู้ป่วยก่อนและหลังการให้เลือด และให้ยาขับปัสสาวะ ก่อนให้เลือด ซึ่งจะป้องกันภาวะนี้ได้บ้าง ความดันเลือดสูงมักเกิดขณะให้เลือด หรือเมื่อให้เลือดเสร็จแล้วภายใน 1-2 วัน ฉะนั้นหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาเป็นการด่วน
ง. ภาวะเหล็กเกิน ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่ซีดเรื้อรังจะมีการดูด ซึมธาตุเหล็กจากอาหารเพิ่มมากขึ้น และ-หรือร่วมกันกับธาตุเหล็ก ที่ได้รับจากการให้เลือด เพราะทุก 1 มิลลิลิตรของเม็ดเลือดแดง มีธาตุเหล็ก 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็กที่ได้รับนี้จะตกค้างอยู่ในร่างกายและไปสะสมในอวัยวะต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการรักษาโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่มีการให้เลือดมากๆ จึงจำเป็นต้อง ให้ยาขับธาตุเหล็กร่วมด้วย
3. การให้ยาขับธาตุเหล็ก 
   ยาที่ใช้กันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และแพร่หลายมากที่สุดคือยา Desferal ซึ่งต้องให้โดยวิธีฉีดเท่านั้น เช่น ฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่วิธีที่นิยมคือฉีด เข้าใต้ผิวหนังให้ยาช้าๆ กินเวลานานครั้งละ 10-12 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องช่วยให้ยาเรียกว่า Infusion หากมีภาวะเหล็กเกินมาก หรือในรายที่ให้เลือดสม่ำเสมอ ต้องให้ยาขนาด 40-60 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สัปดาห์ละ 5-6 วัน จึงจะขับธาตุเหล็กออกได้เต็มที่ จนไม่มีเหล็กเกิน ผู้ปกครองหรือผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ฉีดยาเอง นิยมฉีดก่อนนอน และถอดเข็มออกเมื่อตื่นนอนตอนเช้า เหล็กจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย ทางปัสสาวะและอุจจาระ จะสังเกตได้จากสีปัสสาวะที่เข้มขึ้นมาก ขณะขับธาตุเหล็กต้องมีการติดตามอาการผู้ป่วย และระดับธาตุเหล็กในร่างกาย โดยการตรวจเลือดดูระดับซีรั่มเฟอไรติน (serum ferrin) เป็นระยะๆ ทุก 6 เดือน ถ้าซีรั่มเฟอไรตินอยู่ในระดับ 1000 ไมโครกรัมต่อลิตร หรือต่ำกว่าแสดงว่า ควบคุมระดับธาตุเหล็กได้ดี ปัจจุบันยาขวดละ 500 มิลลิกรัม ราคา 135 บาท ฉะนั้นสำหรับผู้ป่วยน้ำหนักตัว 20 กิโลกรัม จ่ายค่ายาประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน ส่วน Infusion pump เดิมราคาเครื่องละ 2-3 หมื่นบาท แต่ต่อไปนี้ผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องมือนี้ จะขอซื้อเครื่องมือได้ จากมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในราคาเครื่องละ ประมาณ 4,000 บาท ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดจนหายซีดอย่างสม่ำเสมอ และได้ยาขับธาตุเหล็ก จนไม่มีภาวะเหล็กเกินจะมีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว
   มักมีคำถามจากผู้ปกครองเสมอว่า มียาชนิดรับประทาน ที่จะใช้ขับเหล็กหรือไม่ เพราะการฉีดยาทำให้ผู้ป่วยเจ็บ ต้องให้เป็นเวลานานเกิดความเบื่อหน่าย และบางครั้งมีปัญหาเฉพาะ ที่เป็นแผล หรือรอยแข็งเป็นไตบริเวณที่ฉีด จึงขอเรียนว่า ปัจจุบันนี้นักวิจัย ได้มีการทดลองและพยายามพัฒนายาขับเหล็กชนิดรับประทานหลายชนิด คาดว่า 2-3 ปีข้างหน้านี้น่าจะมียาขับเหล็กชนิดรับประทาน ที่นำมาใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และมีปัญหาข้างเคียงน้อยจนเป็นที่ยอมรับได้
4. การตัดม้าม 
   ม้ามเป็นอวัยวะในช่องท้องด้านบนทางซ้าย ปกติจะมีขนาด เล็กคลำไม่ได้ ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียจะมีม้ามใหญ่ ระยะแรกม้าม จะช่วยในการสร้างเม็ดเลือด แต่ม้ามมีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแก่ๆ ที่จะตายด้วยในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย เม็ดเลือดแดงผิดปกติจะแตกตายเร็ว ม้ามต้องทำหน้าที่มาก ม้ามจึงโตขึ้น ๆ เมื่อม้ามโตมาทำให้ท้องป่องอึดอัด และกลับเพิ่มการทำลายเม็ดเลือดมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายม้ามโตมากจนเต็มท้อง ทำให้ต้องให้เลือดถี่มากขึ้นๆ ทุกเดือนหรือทุก 2-3 สัปดาห์ก็ยังซีดอยู่ แพทย์จึงพิจารณาตัดม้าม ซึ่งมีผลดี หลังการตัดม้ามทำให้หายอึดอัด และอัตราการให้เลือดจะลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฮีโมโกลบินเอ็ช มักไม่ต้องให้เลือดอีกเลย แต่ ผลเสียของการตัดม้ามก็มี คือ อาจมีภาวะติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี แพทย์จึงมักไม่ตัดม้ามเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี หลังตัดม้าม ผู้ป่วยจะต้องกินยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลิน วี (Pen V) 1 เม็ด เช้า-เย็น อย่างน้อย 2-3 ปีหรือจนพ้นวัยเด็ก ที่สำคัญในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ทั้งก่อนและหลังการตัดม้ามคือ หากมีไข้สูงอ่อนเพลียมาก ซีดลง หรือท้องร่วงร่วมด้วยไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเกิดการติดเชื้ออื่นๆ ที่รุนแรงที่ไม่ตอบสองต่อ Penicillin V ก็ได้ นอกจากนี้ภายหลังตัดม้าม การดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น และเหล็กซึ่งเดิมเคยสะสมที่ม้ามได้ด้วยจะไปสะสมในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ตับอ่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นตับแข็ง เบาหวาน แพทย์ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการตัดม้าม
5. การปลูกถ่ายไขกระดูก 
   ปัจจุบันเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาด ได้ หลักการคือ ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ต้นกำเนิด ในไขกระดูกผิดปกติ ต้องกำจัดเซลล์เหล่านี้ให้หมดโดยการ ให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง แล้วให้เซลล์ต้นกำเนิด ที่ได้จากไขกระดูก ที่ปกติเข้าไปแทนที่แก่ผู้ป่วย ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดที่ปกติขึ้นมาใหม่ได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะเลือกทำการปลูกถ่ายไขกระดูกในรายที่ผู้ป่วย เป็นโรคธาลัสซีเมียที่รุนแรง แต่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค ธาลัสซีเมียชัดเจน เช่น ไม่มีตับแข็ง หรือเป็นเบาหวาน ได้แก่ธาลัสซีเมียในเด็กนั่นเอง และมีพี่น้องที่ไม่เป็นโรค รวมทั้งมีลักษณะทางพันธุกรรมของเลือดที่เรียกว่า เอ็ชแอลเอ (Human Lymphocyte Antigen : HLA) เหมือนกับผู้ป่วย
ขั้นตอนการปลูกถ่ายไขกระดูก คือ 
5.1 ตรวจเลือดพี่หรือน้องพ่อแม่เดียวกัน (ต่างเพศกันก็ใช้ได้) ว่าไม่เป็นโรค (เป็นพาหะก็เป็นผู้ให้ไขกระดูกได้) และมีสุขภาพสมบูรณ์ดี
5.2 ตรวจเลือดผู้ให้ไขกระดูกและผู้ป่วย ว่ามี HLA ตรงกัน หรือไม่ (หมู่เลือด A B O ไม่ตรงกันก็ใช้ได้) ซึ่งโอกาสที่ HLA จะตรงกันเท่ากับ 1 ใน 4 พร้อมกันนี้มีการตรวจภาวะติดเชื้อตับอักเสบ, AIDS, และไวรัสบางชนิด เช่น CMV ไปด้วย ขั้นตอนนี้เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท แพทย์จะตรวจเลือดบิดา และมารดาพร้อมกันไปด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาผล หาก HLA ตรงกัน จึงทำการปลูกถ่ายไขกระดูกได้ ในผู้ป่วยที่ได้รับเลือดมาหลายครั้ง จะต้องตรวจภูมิต่อต้านเกร็ดเลือด (platelet antibody) ด้วย หากมี antibody จะต้องหาผู้บริจาคเกร็ดเลือดที่เข้ากันได้ ถ้าผู้ป่วยไม่มีภูมิต่อต้านไวรัส CMV (CMV antibody negative) ก็ต้องหาผู้บริจาคที่มี CMV negative เตรียมไว้ให้บริจาคแก่ผู้ป่วยด้วยเช่นกัน
5.3 เตรีมผู้ป่วยให้พร้อมที่จะรับการปลูกถ่ายไขกระดูก ได้แก่ การตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด ทำฟัน ถ่ายพยาธิ แล้วรับผู้ป่วย ไว้ในห้องแยกที่สะอาด และได้รับการดูแลพิเศษ ใส่สายสวน เข้าทางหลอดเลือดดำใหญ่ (ต้องดมยาสลบ) ซึ่งสายนี้ใส่ไว้ได้นานหลายเดือน สามารถดูดเลือดจากสายเพื่อนำไปตรวจต่างๆ โดยไม่ต้องเจาะเลือดจากเส้นอื่น เพื่อความสะดวกและผู้ป่วยไม่เจ็บ รวมทั้งใช้ในการให้ยา สารอาหาร เลือดและเกร็ดเลือด ต่อจากนั้นให้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะต่อต้านกันของไขกระดูกที่จะนำมาให้ผู้ป่วย และให้ยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วย เพื่อกำจัดเซลล์ต้นกำเนิดที่ผิดปกติของผู้ป่วยให้หมดไป ไขกระดูกของผู้ป่วยจะว่าง พร้อมที่จะรับไขกระดูกปกติให้เข้าไปแทนที่ และเจริญต่อไป
5.4 ให้ยาสลบแก่ผู้ให้ไขกระดูก และแพทย์จะเจาะไขกระดูก บริเวณสะโพกออกมาจำนวนมากพอสำหรับผู้ป่วย (20 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักเป็นกิโลกรัมของผู้ป่วย) หากจำเป็นแพทย์จะให้เลือดทดแทน เมื่อเสร็จสิ้นการเจาะไขกระดูก นำไขกระดูกที่เจาะได้ไปให้แก่ผู้ป่วย ทางสายสวนที่ใส่ไว้ในหลอดเลือดดำใหญ่ สำหรับผู้ให้ไขกระดูก ต้องอยู่โรงพยาบาลเพียง 2-3 วัน เท่าที่ผ่านมาทุกรายปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
5.5 การดูแลติดตามผลภายหลังการปลูกถ่ายไขกระดูก หลังให้ยากดภูมิคุ้มกันและเคมีบำบัด จะทำให้เม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดของผู้ป่วยลดต่ำลงมาก อาจมีผลให้ติดเชื้อได้ง่าย มีเลือดออกและซีดลงได้ การให้ยาปฏิชีวนะ เลือดและเกร็ดเลือด รวมทั้งการดูแลใกล้ชิดจะช่วยประคับประคอง ให้ผู้ป่วยพ้น ภาวะแทรกซ้อนไปได้ พร้อม ๆ กันนี้ไขกระดูกใหม่ที่ผู้ป่วยได้รับ ก็จะสร้างเม็ดเลือดใหม่ ๆ มาแทนที่ได้ภายในเวลา 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยมักต้องอยู่โรงพยาบาลนาน 1.5-2 เดือน จนกว่าจะปลอดภัย และยังต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน 6 เดือน และยาป้องกัน การติดเชื้อต่ออีกประมาณ 12 เดือน จึงหยุดยาได้ การติดเชื้อ ต่ออีกประมาณ 12 เดือน จึงหยุดยาได้
การหายจากโรคสามารถติดตามดูได้จากการตรวจเลือด และไขกระดูก ซึ่งจะกลับมาเป็นเหมือนกับเลือดของพี่หรือน้องที่เป็นผู้ให้ไขกระดูก ทั้งหมู่เลือด และลักษณะของเม็ดเลือด แต่ลักษณะทางพันธุกรรม จะไม่ถูกเปลี่ยนไปด้วย เพราะปลูกถ่ายเฉพาะไขกระดูก ไม่ได้เปลี่ยนรังไข่ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้ว จึงต้องตรวจเลือดคู่สมรสก่อนการมีบุตร เช่นเดียวกับ ผู้ที่เป็นโรคคนอื่นๆ
6. การใช้เลือดสายสะดือรักษาโรคธาลัสซีเมีย 
   เลือดสายสะดือของทารกแรกเกิด มีเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถ เจริญเป็นเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับเซลล์ไขกระดูก จึงสามารถนำเลือดสายสะดือมาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย เพื่อรักษาโรคธาลัสซีเมียได้เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ทำโดยใช้เลือดสายสะดือของน้อง ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ ในครรภ์มารดาที่ไม่เป็นโรค มารดาต้องมาคลอดกับแพทย์ และมีการเก็บเลือดสายสะดือไว้ให้มากที่สุดอย่างถูกวิธีและสะอาด ปราศจากเชื้อ แพทย์จะแบ่งเลือดสะดือส่วนหนึ่งไปตรวจซ้ำว่า ทารกไม่เป็นโรค ตรวจหมู่เลือดและ เอ็ช แอล เอ (HLA) หาก HLA เข้ากันได้กับพี่ที่เป็นโรคก็สามารถนำมาปลูกถ่ายใช้รักษาพี่ได้ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น เดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ข้อดีคือ ไม่ต้องเจาะไขกระดูกของน้อง ไม่รบกวนทารกเพราะดูดเลือด จากสายสะดือและจากรก แต่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ในการฝากครรภ์การวินิจฉัยทารกในครรภ์และการคลอดของมารดา
   ปัจจุบัน (พฤษภาคม 2540) ที่โรงพยาบาลศิริราช ได้ทำการปลูกถ่ายไขกระดูกรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ในเด็กไปแล้วรวม 28 ราย หายจากโรค 22 ราย โรคกลับเป็นอีก 4 ราย และถึงแก่กรรม 2 ราย จากโรคติดเชื้อ ส่วนการรักษา โดยใช้เลือดสายสะดือของน้อง ทำไปแล้วรวม 7 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ได้ผลดี ผู้ป่วยหายจากโรค 4 ราย แต่ถึงแก่กรรมไป 2 ราย (ผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กโต อายุมากและมีธาตุเหล็กเกินมาก) ผลการรักษาจะดีหากมีการเตรียมผู้ป่วยอย่างดี มีการวางแผนล่วงหน้า ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด การให้ยาขับธาตุเหล็กและการรักษา หากทำแต่เนิ่นๆ ก่อนมีภาวะแทรกซ้อน
   ค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายไขกระดูกและการปลูกถ่ายเลือดสายสะดือ ใกล้เคียงกันคือประมาณ 100,000 บาท-400,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อน

7. การเปลี่ยนยีน
   เนื่องจากปัจจุบันทราบสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมว่า มีความ ผิดปกติของยีนที่ใด อย่างไร ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำการเปลี่ยนยีนได้ โดยมีวิธีที่จะเอายีนที่ปกติเข้าไปแทนที่ยีนผิดปกติ ทำสำเร็จ ในโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดหนึ่งแล้ว คาดว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีการใช้วิธีเปลี่ยนยีนนี้ รักษาโรคทางพันธุกรรมได้อีกหลายโรค รวมทั้งโรคธาลัสซีเมียด้วย

การควบคุมป้องกันโรค

   โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากในบ้านเรา ผู้ที่เป็นโรคมีอาการเรื้อรังและรักษายาก เป็นปัญหาต่อสุขภาพ ทั้งกายและใจอย่างมาก การรู้จักโรคนี้และเข้าใจแบบแผนการถ่ายทอด ทางพันธุกรรม จะทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญและสนใจที่จะมีส่วนร่วม ในการควบคุมป้องกันโรค ตามที่กล่าวแล้วว่าผู้เป็นโรคคือ ผู้ที่ได้รับยีนผิดปกติมาจากทั้งบิดาและมารดาซึ่งเป็นพาหะ และพาหะคือ คนแข็งแรงปกติ แต่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ ปัจจุบันการตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษ (ตรวจเลือดเลือดโดยวิธีพิเศษ คือ การตรวจเพื่อหาภาวะแฝงและโรคธาลัสซีเมีย ทำได้ที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย, โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง) จะบอกได้ว่าผู้ใดปกติ ผู้ใดเป็นโรค ผู้ใดเป็นพาหะและเป็นพาหะชนิดใด ฉะนั้นต้อง ตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษ จึงจะทราบแน่นอน

ใครบ้างที่จะเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ?

  1. คนทั่วไปมีโอกาสจะเป็นพาหะ หรือมียีนของธาลัสซีเมียชนิด ใดชนิดหนึ่งถึงร้อยละ 30-40
  2. ชายหญิงที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียต้องมียีนธาลัสซีเมียเสมอ
  3. พี่น้องหรือญาติของผู้เป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือพาหะของโรคธา ลัสซีเมียมีโอกาสที่จะมียีนธาลัสซีเมียมากกว่าคนทั่วไป

ใครบ้างที่อาจมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย?

   คู่สามีภรรยาที่เคยมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียมาก่อน หรือสามี และภรรยาที่มียีนธาลัสซีเมียพวกเดียวกันดังที่กล่าวมาแล้ว
   จะเห็นได้ว่าโดยสรุป ควรมีการตรวจเลือดคู่สมรสที่จะมีลูก อาจตรวจคนเดียวก่อน หากเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย หรือมียีนธาลัสซีเมีย ต้องตรวจคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง หาคู่สมรสเป็นพาหะของธาลัสซีเมียพวกเดียวกัน ถ้ามีลูกก็มีอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคดังกล่าวแล้ว แพทย์จะให้คำอธิบายถึง อัตราเสี่ยงและความรุนแรงของโรคในลูก ทางเลือกของคู่สมรส ที่มีอัตราเสี่ยงในการมีลูกเป็นโรคชนิดที่รุนแรงคือ
  1. ไม่มีลูกของตนเอง โดยคุมกำเนิดหรือทำหมัน
  2. ยอมเสี่ยงที่จะมีลูกที่เป็นโรค
  3. ตรวจทารกในครรภ์ว่าเป็นโรค ปกติหรือเป็นพาหะ
  4. การวินิจฉัยตรวจโรคตัวอ่อนก่อนนำไปฝังตัวในมดลูก ก่อนการ ตั้งครรภ์ (Preimplantation) จะทำให้สามารถเลือกทารกที่ไม่เป็นโรคได้ เป็นโครงการในอนาคต
   ปัจจุบันด้วยภาวะเศรษฐกิจและสังคมครอบครัวส่วนใหญ่มักจะมี บุตรน้อย หากมีบุตรพอแล้วจึงควรทำหมัน
   สำหรับการตรวจทารกในครรภ์ ต้องทำแต่เนิ่นๆ ในคู่สมรส ที่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผน การตรวจตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือทันทีเมื่อสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรตรวจกับสูติแพทย์ว่าตั้งครรภ์จริง และคาดคะเนอายุครรภ์ ด้วยเครื่องมืออัตราซาวนด์ แพทย์จะตรวจเลือดคู่สมรสซ้ำ ดูรายละเอียดของความผิดปกติของยีนธาลัสซีเมีย เพื่อวางแผน การวินิจฉัยทารกในครรภ์ และแพทย์จะนัดตรวจทารก โดยการเจาะด้วยเข็มพิเศษผ่านทางช่องคลอด หรือทางหน้าท้อง นำน้ำคร่ำ หรือเลือดของทารก หรือชิ้นรกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อของทารกไปตรวจ การตรวจจะทำเมื่ออายุครรภ์เพียง 6-18 สัปดาห์ ทั้งนี้สุดแต่ชนิด ของยีนที่ผิดปกติ ตามความเหมาะสมในแต่ละรายไป